เทศบาลตำบลเด่นชัย | Denchai Subdistrict Municipality

เทศบาลตำบลเด่นชัย | Denchai Subdistrict Municipality

ประวัติความเป็นมา

ทศบาลตำบลเด่นชัย เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเด่นชัย ได้รับประกาศจัดตั้ง เป็นสุขาภิบาลเด่นชัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลเด่นชัย เมื่อวันที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2499 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 83 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2499 จำนวนพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1,2,3,5 และ 7 ตำบลเด่นชัย และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาล ครั้งที่ 1 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2528 ในประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 69 หน้า 22 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2528 จำนวนพื้นที่ 11.62 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเด่นชัย หมู่ที่ 1,2,3,5,6,7,8,9,10 และ 11 ตำบลแม่จั๊วะ หมู่ที่ 1,5 และ 10 (บางส่วน) ตำบลปงป่าหวาย หมู่ที่ 4,5 และ 6 (บางส่วน) และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลอีกครั้งหนึ่ง โดยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก. ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542

ที่ตั้งของตำบล

          เทศบาลตำบลเด่นชัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม สูงกว่าระดับน้ำทะเล 600 ฟุต มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 530 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ 11.62 ตาราง-กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
     – ทิศเหนือ  ติดต่อกับ  หมู่ที่  4, 5, 9  ตำบลปงป่าหวาย
     – ทิศใต้  ติดต่อกับ  ถนนศรีสัชนาลัย – แพร่ และหมู่ที่ 5, 8 ตำบลเด่นชัย
     – ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  หมู่ที่ 1, 5, 10  ตำบลแม่จั๊วะ และหมู่ 8 ตำบลเด่นชัย
     – ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  แม่น้ำยมและหมู่ที่  4, 5, 6  ตำบลเด่นชัย

จำนวนประชากร

  • เทศบาลตำบลเด่นชัย มีพื้นที่ 11.62 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 11,684 คน เป็นชาย 5,655 คน หญิง 6,029 คน ความหนาแน่นของประชากร 1,005 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร

สภาพเศรษฐกิจและสังคม

  1. ลักษณะการประกอบอาชีพ ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมและค้าขาย โดยมีผลผลิตที่สำคัญเป็นข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ครั่ง แต่ด้วยความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนที่ดินทำการเกษตรลดลง จึงทำให้แรงงานด้านเกษตรกรรมไหลเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม หรือละทิ้งพื้นที่ทำการเกษตรเข้าไปทำงานในเมืองมากขึ้น
  2. ลักษณะชุมชนในท้องถิ่น เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ยึดอาชีพด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่จึง ทำให้ลักษณะของครอบครัวเป็น ครอบครัวใหญ่ แรงงานในครอบครัวยังคงมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพ จึงทำให้ลักษณะชุมชนเป็นแบบ พึ่งพากัน โดยยังยึดประเพณีและวัฒนธรรม เป็นกรอบในการดำเนินชีวิตและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างเข้มแข็ง
  3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทศบาลตำบลเด่นชัยมีถนนอยู่ในเขตรับผิดชอบ จำนวน 125 เส้นทาง มีความยาวรวม 61.352  กิโลเมตร  แยกตามประเภทพื้นถนนได้ดังนี้

            1. ผิวจราจร คสล. ระยะทาง   78.65  กิโลเมตร
            2. ผิวจราจรราดยาง ระยะทาง   18.172 กิโลเมตร
            3. ผิวจราจรลูกรัง ระยะทาง   9.356   กิโลเมตร

         สภาพผิวจราจรส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุด เนื่องจากได้ก่อสร้างมานาน และไม่มีการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุก ซึ่งเทศบาลตำบลเด่นชัยก็ได้ก่อสร้างและซ่อมแซมเป็นประจำทุกปี แต่ก็ยังไม่สามารถ ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม ให้อยู่ในสภาพดีได้ทุกสาย ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ
การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมทางบก  ประกอบด้วยทางรถยนต์ และทางรถไฟ
ทางรถยนต์ จะเส้นทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด อยู่ในอำเภอเด่นชัย ทำให้สามารถติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้ เส้นทางภายในจังหวัดไปอำเภอต่างๆ  ได้สะดวกเป็นถนนลาดยางส่วนใหญ่
          – ทางหลวงหมายเลข 11 อำเภอเด่นชัยมีเส้นทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านซึ่งเส้นทางนี้จะเริ่มจากจังหวัดสิงห์บุรี ผ่าน จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ (ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเด่นชัย) จังหวัดลำปาง ถึง จังหวัดเชียงใหม่
          – ทางหลวง 101 อำเภอเด่นชัยมีเส้นทางหลวง 101 ผ่าน ซึ่งเส้นทางจะเริ่มจากจังหวัดกำแพงเพชร ผ่าน สุโขทัย ผ่าน จังหวัดแพร่ (ซึ่งในพื้นที่ของอำเภอเด่นชัย – อำเภอสูงเม่น อ.เมือง อ.ร้องกวาง ) จ.น่าน
ทางรถไฟ อำเภอเด่นชัยมีเส้นทางรถไฟสายเหนือ ระหว่างกรุงเทพฯ ถึง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านระยะทางสถานีเด่นชัยถึงสถานีกรุงเทพ ยาวประมาณ 550 กิโลเมตร และจากสถานีเด่นชัยถึงสถานีเชียงใหม่ ประมาณ 178  กิโลเมตร

วิสัยทัศน์การพัฒนา

– ประตูล้านนาโดดเด่น มุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่
– บ้านและชุมชนร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรม
– ก้าวนำด้านการศึกษา ชาวประชาอยู่เย็นเป็นสุข